วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แบลส ปาสกาล (Blaise Pascal)

ประวัติ 
          ปาสกาลเกิดที่เมือง Chermont มณฑล Auvergne ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ.1623 บิดาเป็นนักคณิตศาสตร์และผู้พิพากษา ปาสคาลไม่ใช่ผู้พัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ที่ชื่อภาษาปาสกาล ช่วงที่ปาสกาลยังมีชีวิตอยู่มีระยะเวลากว่า 300 ปีก่อนที่จะมีคอมพิวเตอร์ ดร.เวียต ผู้พัฒนาภาษาปาสกาลได้ตั้งชื่อภาษาให้เป็นเกียรติแก่ปาสกาล ทั้งนี้เพราะปาสกาลเป็นคณิตศาสตร์ผู้หนึ่งในยุคการพัฒนาวิชาคณิตศาสตร์ในช่วงศตวรรตที่ 16 - 17
           ปาสกาลเป็นผู้มีจินตนาการและความคิดที่กว้างไกล ปาสกาลแสดงความเป็นอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ตั้งแต่เด็ก ปาสคาลได้ศึกษาแนวคิดของยุคลิดในเรื่อง Elements ในช่วงอายุยังวัยเยาว์ เขาทำความเข้าใจหลักและทฤษฎีหลายอย่างของยูคลิดได้ก่อนอายุ 12 ปี  เมื่ออายุได้ 12 ปี ท่านพัฒนาเรขาคณิตเบื้องต้นด้วยตนเอง เมื่ออายุได้ 14 ปี ท่านเข้าร่วมประชุมกับนักคณิตศาสตร์ฝรั่งเศส ซึ่งต่อมานักคณิตศาสตร์กลุ่มนี้สถาปนา French Academy ในปี ค.ศ.1666 เมื่ออายุได้ 16 ปี ท่านไดัพัฒนาทฤษฎีบทที่สำคัญในวิชาเรขาคณิตโพรเจกทีฟและได้เสนอผลงานวิจัยในบทความที่เขานำเสนอได้แก่ Essay on Conic Sections ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับรูปตัดกรวยที่แสดงการวิเคราะห์เชิงเรขาคณิตและคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และเมื่ออายุได้ 19 ปี ท่านได้พัฒนาเครื่องคิดเลข

ปีทาโกรัส (Pythagoras)

ประวัติ
          ปีทาโกรัสเป็นชาวกรีซ เป็นนักปรัชญาและผู้นำศาสนา มีอายุอยู่ในรว 582 - 500 ก่อนคริสต์ศักราช เกิดที่เมืองเอเจียน (Aegean) บนเกาะซามอส (Samos) ใกล้กับเอเชียไมเนอร์ ท่านได้รับความรู้และประสบการณ์มากมายจากการเดินทางท่องเที่ยวไปยังดินแดนต่างๆ เช่น อียิปต์ และบาบิโลเนีย และอาจเป็นศิษย์ของทาลิส กล่าวกันว่าท่านอาจจะเคยเดินทางไปถึงอินเดียด้วยก็ได้ เมื่อท่านเดินทางกลับจากอียิปต์มายังเกาะซามอส ก็พบว่าเกาะซามอสตกอยู่ภายใต้การยึดครองของเปอร์เซีย เนื่องจากทรราช Polycrates ท่านจำต้องจากเกาะซามอส ไปตั้งรกรากที่เมืองโครโตนา (Crotona) ซึ่งเป็นเมืองท่าของกรีก ตั้งอยู่ตอนใต้ของอิตาลีในปัจจุบัน 
          ปีทาโกรัสได้ตั้งสำนักความคิดที่มีชื่อเสียง เรียกว่า สำนักปีทาโกเรียน (Pythagorean school) มีตราประจำสำนักเป็นรูปดาวห้าแฉก ซึ่งเป็นสถาบันที่ศึกษาเกี่ยวกับ ปรัชญา คณิตศาสตร์และธรรมชาติวิทยา สานุศิษย์ของสำนักนี้ต้องสาบานตัวเป็นพี่น้องกัน เรียกว่า ภราดรภาพแห่งปีทาโกรัส ต้องเคารพกฎเกณฑ์ของสำนักอย่างเคร่งครัด แนวคิดที่สำคัญของปีทาโกรัสและสาวกคือ หลายสิ่งหลายอย่างสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ด้วยคณิตศาสตร์ ทำให้การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญยิ่ง ปีทาโกรัสและสาวกได้ทำการพิสูจน์ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์หลายเรื่อง และต่อมาทฤษฎีเหล่านี้เป็นรากฐานของวิทยาการในยุคอียิปต์ ปีทาโกรัสคิดว่าปริมาณต่างๆ ในธรรมชาติสามารถเขียนในรูปเศษส่วนของจำนวนนับ จนมีคำขวัญของสำนักว่า "ทุกสิ่งคือจำนวนนับ" เมื่อมีการค้นพบจำนวนอตรรกยะขึ้น ทำให้ปีทาโกรัสและศิษย์ทั้งหลายเสียขวัญและกำลังใจ เมื่อทางราชการขับไล่เพราะกล่าวหาว่าสำนักปีทาโกเรียนเป็นสถาบันศักดินา สำนักปีทาโกเรียนก็สูญสลายไป


วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ (Leonhard Euler)

 ประวัติ 
              เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ เป็นนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ชาวสวิส  เขาได้ชื่อว่าเป็นนักคณิตศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งเท่าที่เคยมี เกิดวันที่ 15 เมษายน ค.ศ.1707 ที่เมือง Basel ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เขาเป็นเด็กที่มีความเป็นอัจริยะทางคณิตศาสตร์ และได้ศึกษาคณิตศาสตร์กับ Johann Bernoulli ท่านได้รับปริญญาตรีเมื่ออายุ 16 ปี และปริญญาโททางปรัชญา เมื่ออายุ 18 ปี ท่านทำงานวิจัยทางคณิตศาสตร์ ในปี ค.ศ.1727 ท่านรับตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาคณิตศาสตร์ที่ St. Petersburg Academy of Sciences (ในรัสเซีย) ซึ่งสถาปนาโดย ซาร์ปีเตอร์มหาราช 14 ปีต่อมาท่านไปเป็นผู้อำนวยการ Prussian Academy ตามคำเชิญของเอมเปอเรอร์เฟรเดอริกมหาราช ท่านทำงานในตำแหน่งนี้ 25 ปี จึงกลับไปที่ St. Petersburg อีกและอยู่ที่นั้นจนถึงแก่กรรม ในวันที่ 18 กันยายน ค.ศ.1783 อายุ 76 ปี
เลออนฮาร์ด ออยเลอร์  เป็นคนแรกที่ใช้คำว่า  "ฟังก์ชัน"  (ตามคำนิยามของไลบ์นิซ  ใน  ค.ศ.1694)  ในการบรรยายถึงความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปร  เช่น  y   F(x เขายังได้ชื่อว่าเป็นคนแรกที่ประยุกต์แคลคูลัสเข้าไปยังวิชาฟิสิกส์
เลออนฮาร์ด ออยเลอร์ เป็นนักคณิตศาสตร์มีผลงานมากมายที่สุดคนหนึ่ง ผลงานทั้งหมดของเขารวบรวมได้ถึง  75  เล่ม  ผลงานของเขามีอิทธิพลอย่างมากต่อผลงานทางคณิตศาสตร์ในศตวรรษที่  18  เขาต้องสูญเสียการมองเห็นและตาบอดสนิทตลอด  17  ปีสุดท้ายในชีวิตของเขา ซึ่งในช่วงนี้เองที่เขาสามารถผลิตผลงานได้ถึงเกือบครึ่งหนึ่งของผลงานทั้งหมดของเขา
http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/lopburi/piyawan_t/history/sec03p01.html

แฟร์มาต์

แฟร์มาต์
แฟร์มาต์

ฟร์มาต์เป็นชาวฝรั่งเศส เป็นนักคณิตศาสตร์ในยุคของการพัฒนาศิลปวิทยา เขาเกิดในวันที่ 17 เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1601 แฟร์มาต์เป็นบุตรชายพ่อค้าขายเครื่องหนังผู้มั่งคั่งคนหนึ่งของฝรั่งเศส  แฟร์มาต์มีผลงานที่สำคัญในเรื่องทฤษฎีความน่าจะเป็น            ผลงานคิดค้นทางคณิตศาสตร์ของแฟร์มาต์ที่น่าสนใจและเป็นรากฐานในวิชาแคลคูลัสต่อมา คือ Method for determining Maxima and Minima and Tangents of Curved Lines ผลงานคิดค้นส่วนนี้ทำให้สามารถคำนวณหาจุดสูงสุดต่ำสุด และเส้นสัมผัสของรูปกราฟ ความสัมพันธ์แบบต่าง ๆ  และเข้าไปสู่เรื่องเรขาคณิตแบบใหม่  แฟร์มาต์ยังคงเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรขาคณิตแบบใหม่นี้  โดยเน้นการวิเคราะห์พื้นผิว และรูปทรงต่าง ๆ  โดยให้ชื่อหนังสือว่า Introduction to Plane and Solid Loci
            งานที่มีชื่อเสียงและเป็นที่กล่าวถึงของนักคณิตศาสตร์และชนรุ่นหลังอย่างมาก คือ แฟร์มาต์ได้เสนอทฤษฎีที่เรียกว่า ทฤษฎีบทสุดท้ายของแฟร์มาต์
            แฟร์มาต์ยังได้ทำการศึกษาและให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเลขจำนวนเฉพาะ  และต่อมาได้เรียกกันว่า ตัวเลขของแฟร์มาต์ (Fermat Number)

ฟ้ามืดบ่ดน